บริษัท เซเครทไลท์ จำกัด
โทร 02-348-0524, 081-409-0439
  • th

2) ข้อกำหนดสำหรับการออกแบบและติดตั้งฯ โคมไฟสำหรับบริเวณอันตราย


2) ข้อกำหนดสำหรับการออกแบบและติดตั้งฯ โคมไฟสำหรับบริเวณอันตราย

ข้อกำหนดสำหรับการออกแบบและติดตั้งฯ โคมไฟสำหรับบริเวณอันตราย

บริเวณอันตรายได้แก่สถานที่ซึ่งเกิดแก๊สที่ติดไฟหรือมีแก๊สออกมาตลอดเวลา อาจเป็นเหตุให้เกิดไฟลุกหรือเกิดระเบิด เช่น

- โรงกลั่นนํ้ามัน

- สถานประกอบการเกี่ยวกับบรรจุก๊าซและปิโตรเลียม

- โรงงานผลิตวัตถุระเบิดและดินปืน จำพวกโรงงานทำพุ

- โรงงานพ่นสี

- โรงงานเฟอร์นิเจอร์

- โกดังเก็บสินค้าไซโล 

- โรงงานแป้งมัน

- โรงงานทอผ้า

 

ทฤษฎีการเกิดไฟ Basic of Explosion

จากทฤษฎีการเกิดไฟหรือเรียกกันว่าสามเหลี่ยมของการติดไฟ จะต้องมีองค์ประกอบร่วม 3 อย่าง คือ

1. มีสารไวไฟ (Flammable Material) ปริมาณมากพอที่จะจุดติดไฟได้

2. มีปริมาณ Oxygen ที่เพียงพอ (ในอากาศปกติจะมีประมาณ 21%)

3. มีแหล่งจุดติดไฟ (Ignition Source)

 

การระเบิด (EXPLOSION) คือปฏิกิริยาเคมีของสารไวไฟกับออกซิเจนและปลดปล่อยพลังงานความร้อนสูงมาก ซึ่งสารไวไฟอาจอยู่ในรูปของ แก๊ส (Gas) หรือไอระเหย (Vapor) เนื่องจากเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้สารไวไฟได้ จึงจำเป็นต้องพยายามไม่ให้เกิดการรั่วไหลของสารไวไฟสู่บรรยากาศจนเกิดสภาวะที่จะเกิดระเบิดได้ อย่างไรก็ตามในบางพื้นที่จะมีการใช้หรือถ่ายเทสารไวไฟอยู่เป็นประจำ การป้องกันการระเบิดจะทำได้โดยการสร้างระบบระบายอากาศ (Ventilation) อย่างเหมาะสม และมีการป้องกันไม่ให้มีแหล่งกำเนิดการจุดติดไฟขึ้นได้สารแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการจุดติดไฟต่างกัน ดังนั้น การมีออกซิเจน การจุดติดไฟและสารไวไฟ ร่วมกันก็อาจจะไม่ทำให้เกิดการระเบิดหรือไฟไหม้ขึ้นได้ คุณสมบัติที่สำคัญของสารไวไฟที่ปนเปื้อนในอากาศและทำให้เกิดสภาพบรรยากาศที่จุดติดไฟได้ (Explosive Atmosphere) มี 5 ประการ คือ

1. Lower Explosive Limit (LEL) คือ ปริมาณเปอร์เซ็นต์ของแก๊สหรือไอระเหยขั้นต่ำที่ผสมกับอากาศ จนเกิดเป็นส่วนผสมที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการระเบิดได้ (Explosive mixture) ถ้ามีปริมาณเปอร์เซนต์ของแก๊สไวไฟเจือปนในอากาศเข้มข้นน้อยกว่านี้จะไม่เพียงพอให้จุดติดไฟได้

2. Upper Explosive Limit (UEL) คือ ปริมาณเปอร์เซ็นต์ของแก๊สหรือไอระเหยมากที่สุดที่ผสมกับอากาศ จนเกิดเป็นส่วนผสมที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการระเบิดได้ (Explosive mixture)ถ้ามีปริมาณเปอร์เซนต์ของแก๊สไวไฟเจือปนในอากาศเข้มข้นมากกว่านี้จะไม่เพียงพอให้จุดติดไฟได้

3. Flash Point คือ ค่าอุณหภูมิต่ำสุดที่ทำให้สารไวไฟในสภาพของเหลว เกิดการระเหยจนกลายเป็นไอระเหยในปริมาณเพียงพอให้เกิดการจุดติดไฟได้เหนือของเหลวนั้น ของเหลวที่มีค่า Flash Point ต่ำกว่า 37.8o C (100o F) จะเรียกว่า “Flammable Liquid” ส่วนของเหลวที่มีค่า Flash Point สูงกว่า 37.8o C (100o F) จะเรียกว่า combustible Liquid”ถ้าเราจัดเก็บหรือใช้สารไวไฟในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าค่า Flash Point ก็จะไม่ทำให้เกิดสภาพของพื้นที่อันตรายขึ้นได้แสดงตัวอย่างค่า Flash Point ของแก๊สหรือไอระเหยของสารไวไฟ

4. Auto-Ignition Temperature คือ อุณหภูมิต่ำที่สุดที่ทำให้แก๊สหรือไอระเหยของสารไวไฟซึ่งผสมอยู่ในบรรยากาศจะเกิดลุกติดไฟได้เองโดยไม่จำเป็นต้องมีประกายไฟ ในพื้นที่ที่มีการรั่วไหลของแก๊สหรือไอระเหยของสารไวไฟ ถ้ามีการใช้งานเครื่องจักรกลหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งทำให้เกิดความร้อนสูงที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง (Hot Spot) โดยความร้อนที่เกิดขึ้นนี้มีอุณหภูมิสูงกว่าค่า Auto-Ignition Temperature ของแก๊สหรือไอระเหยนั้นๆ อาจจะทำให้สารไวไฟในบรรยากาศเกิดการลุกติดไฟขึ้นเองได้

5. Vapor Density คือ ความหนาแน่นของแก๊สหรือไอระเหยของสารไวไฟเมื่อเทียบกับอากาศถ้าค่าความหนาแน่นของแก๊สหรือไอมากกว่า 1.0 แสดงว่า แก๊สหรือไอนี้หนักกว่าอากาศเมื่อเกิดมีการรั่วไหล แก๊สหรือไอนี้จะลอยอยู่ในระดับต่ำ แต่ถ้าค่าความหนาแน่นของแก๊สหรือไอน้อยกว่า 1.0 แสดงว่าแก๊สหรือไอชนิดนี้เบากว่าอากาศ เมื่อเกิดมีการรั่วไหล แก๊สหรือไอนี้จะลอยขึ้นสูง

 

** ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม (2548) โครงการจัดทำคู่มือการตรวจสอบ ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า ในพื้นที่อันตรายที่มีไอระเหยของสารไวไฟ แหล่งที่มา http://www2.diw.go.th และ E.I.T standard 2013 คุณกิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์ **